The JSPS Global COE Program In Search of Sustainable Humanosphere in Asia and Africa

更新日:2014/02/14

1)  ชื่อโครงการ

The JSPS Global COE Program

In Search of Sustainable Humanosphere in Asia and Africa

 

2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

Graduate School of Asian and African Area Studies, Kyoto University

Research Institute of Sustainable Humanosphere, Kyoto University

Center for Integrated Area Studies, Kyoto University

Center for African Area Studies, Kyoto University

Institute of Sustainability Science, Kyoto University

Graduate School of Agriculture, Kyoto University

Institute for Research in Humanities, Kyoto University

Graduate School of Engineering, Kyoto University

 

3) ช่วงเวลาดำเนินการ

FY 2007~2011

 

4) เนื้อหาโดยย่อ

โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบพื้นฐานใหม่ของการดำรงอยู่แบบยั่งยืนซึ่งไปด้วยกันได้ดีกับสังคมมนุษย์  โดยยึดถือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งดำเนินมาหลายศตวรรษ  อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงการพัฒนาขึ้นสู่ระดับโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นทุกวันและอนาคตในอีก 100 ปีข้างหน้า  โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่ทวีปเอเชียและแอฟริกา  พร้อมทั้งพยายามเข้าถึงศาสตร์และศิลป์อย่างกลมกลืนด้วยการควบรวมการวิจัยท้องถิ่นโดยครอบคลุมทั้งหมด (ซึ่งหมายรวมถึงนิเวศน์วิทยาทางธรรมชาติ  เศรษฐกิจการเมือง  และวัฒนธรรมทางสังคม) เข้ากับการศึกษาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าซึ่งขาดไม่ได้ในโครงสร้างพื้นฐานของการดำรงอยู่แบบยั่งยืน  เราวางแผนให้มีการปรับโครงสร้างของสังคมท้องถิ่น  เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ควรจะเป็นในการดึงเอาศักยภาพของแต่ละสังคมออกมารวมไปถึงระบบที่สนับสนุนด้วย  โดยยึดถือความหลากหลายของสังคมท้องถิ่นเขตร้อนเป็นหลัก  ไม่ใช่มุ่งแต่เพื่ออนาคตความยั่งยืนใน “ความเจริญก้าวหน้า” ของเฉพาะประเทศผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมาตั้งแต่ในอดีต ในท้ายที่สุด  เราจะนำเสนอทิศทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของสังคมมนุษย์หลายๆ แบบให้สามารถอยู่ร่วมกันได้  โดยการสร้างรูปแบบใหม่ของการพัฒนา “พื้นฐานการดำรงอยู่แบบยั่งยืน”

ตามหลักแล้วเราสร้างรูปแบบพื้นฐานการดำรงอยู่แบบยั่งยืน  และพัฒนาการศึกษาของบุคคลากรในท้องที่ที่ทำการศึกษาวิจัยในระดับแนวหน้าสุดของโลกโดยผ่านการริเริ่มการศึกษาวิจัยหลัก 4 แบบดังนี้

(1) พลวัตระยะยาวของระบบ  เทคโนโลยี  และสิ่งแวดล้อม  คือ การทำความเข้าใจทางประวัติศาสตร์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนสังคมที่มนุษย์เน้นเรื่อง “การคงไว้ซึ่งพื้นฐานการดำรงอยู่”  ไปสู่สังคมแบบ “การพัฒนา” ซึ่งมุ่งหวังการเพิ่มศักยภาพของประเทศ การเพิ่มประชากรและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำการตรวจสอบปัญหาเกี่ยวกับระบบ  เทคโนโลยี  และสิ่งแวดล้อมของทวีปเอเชียและแอฟริกาในปัจจุบันอีกครั้ง  โดยอาศัยการนำข้อมูลการศึกษาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้ามารวมเข้าไว้ด้วยกัน

(2) การศึกษาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและธรรมชาติ  คือ  การรวมข้อมูลและการศึกษาวิจัยใหม่ที่ช่วยรับมือกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม (การหมุนเวียนของสสารและพลังงาน) ซึ่งเผชิญอยู่ในโลกปัจจุบัน  เข้ากับการศึกษาวิจัยระบบการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งมีมาแต่ในอดีต  แล้วจึงนำเสนอระบบการใช้ทรัพยากรที่นำมาปฎิบัติได้จริงทางวัฒนธรรมและสังคม

(3) การวิจัยแบบยั่งยืนเรื่องพื้นฐานการดำรงอยู่ในท้องถิ่น  ในการวิจัยนี้หยิบยกพื้นที่หนึ่ง (ปาเลมบัง  เกาะสุมาตรา) ขึ้นมาแล้วพิจารณาโดยรวมถึงแต่ละแง่มุมของการหมุมเวียนของป่าไม้  การพัฒนาเศรษฐกิจส่งออกผลิตภัณฑ์กลุ่มหลัก  ระบบระเบียบ  การว่าจ้าง  หรือการปกครองท้องถิ่น  รวมถึงการเชื่อมโยงกันของสิ่งเหล่านั้น  แล้วจึงทำการศึกษารูปแบบการพัฒนาแบบยั่งยืน

(4) การวิจัยศักยภาพทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น  คือ  การค้นหาปัจจัยทั้งหลายที่ทำให้มีการพัฒนาพื้นฐานการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน  ซึ่งแฝงอยู่ในความรู้สึกถึงคุณค่าและวัฒนธรรมอันบ่งบอกถึงความหลากหลายของมนุษย์

 

รายละเอียดของโครงการ

http://www.humanosphere.cseas.kyoto-u.ac.jp/en/